“ปลวกกินแต่เนื้อไม้จะเปลี่ยนมาเป็นสารอาหารได้ยังไงนะ” หลายคนอาจสงสัยว่าเนื้อไม้ที่ปลวกตัวกระจ้อยร่อยกัดกินแทบจะทุกวินาทีจะเปลี่ยนมาเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้อย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วเนื้อไม้เมื่อตกถึงท้องสามรถเปลี่ยนเป็นสารอาหารได้ก็เพราะมีโปรโตซัวในลำไส้ปลวกนะสิ พอพูดชื่อนี้ขึ้นอาจทำให้หลายคนเริ่มสงสัยว่ามันคืออะไร ถ้าอย่างนั้นเดี๋ยวเรารับหน้าที่พาทุก ๆ คนไปทำความรู้จักกับโปรโตซัวในลําไส้ปลวกกันดีกว่า จะเป็นอย่างไรไปติดตามกันเลย
สนใจบริการกำจัดปลวก ติดต่อ ดร.ปลวกได้เลย
โปรโตซัวในลำไส้ปลวกตัวช่วยชั้นดีย่อยสลายเนื้อไม้
ต้องบอกก่อนว่าโปรโตซัวเป็นยูคาริโอติกโพรทิสต์สัตว์เซลล์เดียว
(Protozoology) ไม่มีผนังเซลล์ ตัวเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดอยู่ที่ 5-250 ไมโครเมตร
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โปรโตซัวที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ และโปรโตซัวที่อาศัยร่วมกับสิ่งมีชีวิต
หนึ่งในนั้นก็คืออาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกนั่นเอง โดยโปรโตซัวที่อาศัยร่วมกับปลวกนั้นมีชื่อเรียกว่า
“ไทรโคนิมฟา” (Trichonympha) ที่จัดอยู่ในความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพากัน ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
ถามว่าต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์อย่างไร? โปรโตซัวในลำไส้ปลวกชนิดนี้ทำหน้าที่ช่วยย่อยสลายไม้ที่กัดกินเข้าไปเป็นว่าเล่น
ให้กลายเป็นสารอาหารได้ ทำให้ปลวกมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
อิ่มหนำพร้อมกัดกินไม้ได้เรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น
โดยที่ตัวโปรโตซัวเองก็ได้รับอาหารจากการช่วยย่อยไม้ให้ปลวกด้วย
แม้จะไม่เคยเห็นหน้าคราตากันแต่ก็รักกันยากจะแยกได้ เพราะถ้าได้แยกจากกันละก็ทั้งปลวกและโปรโตซัวจะตายลงนั่นเอง
แล้วโปรโตซัวเข้ามาอาศัยในร่างกายปลวกได้อย่างไร?
พอพูดถึงโปรโตซัวหลายคนอาจคิดว่ามีอยู่กับปลวกมาตั้งแต่เกิดแนเลย
ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ปลวกไม่ได้มีโปรโตซัวมาตั้งแต่เกิดอยากที่คิดหรอกนะ
โดยเมื่อโตเป็นตัวอ่อนพี่เลี้ยงปลวกจะเอาอาหารที่มีโปรโตซัวมาให้กิน
ทำให้เกิดโปรโตซัวในลำไส้ปลวกในที่สุด อยู่ไปยาว ๆ ยันแก่ตาย
ได้ฟังแบบนี้แล้วก็เห็นถึงประโยชน์ของแบคทีเรียในลำไส้เหมือนกันแฮะ
ซึ่งในลำไส้ของเราก็มีแบคที่เรียที่มีประโยชน์เฉกเช่นโปรโตซัวในลำไส้ปลวกเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไร ปลวกก็ยังคงเป็นวายร้ายลำลายล้างบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ การป้องกันไม่ทำให้ปลวกขึ้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
หรือหากบ้านไหนมีปลวกขึ้นมาแล้วล่ะก็ รีบเรียกบริษัทมากำจัดให้สิ้นซาก
อย่าปล่อยให้ปลวกลอยนวล!!